HUMAN SCALE : ห้องครัว

HUMAN SCALE สัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ : ห้องครัว

     การออกแบบห้องครัวนั้น ต่างจากการออกแบบห้องอื่นๆ เพราะห้องครัวไม่ใช่ห้องสำหรับกิจกรรมเพียงอย่างเดียว กิจกรรมที่เกิดมีหลายอย่างรวมกัน เช่น การเตรียมอาหาร การเก็บอาหาร การปรุงอาหาร ที่ซักล้าง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องการปรุงอาหารนั้นเป็นเฉพาะตัวแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น หรือแม้แต่ละครอบครัว การทำให้เป็นแบบมาตรฐานเดียวกันอาจทำได้ยาก ดังนั้นปัจจัยสำคัญต่างๆที่จำเป็นต้องทราบจะเป็นตัวกำหนดให้ผู้ออกแบบสามารถทำออกมาให้สนองประโยชน์แก่แต่ละบ้านได้เหมาะที่สุด เราจึงมีแบบ HUMAN SCALE ในห้องครัวเพื่อเป็นตัวอย่างให้สำหรับคนที่กำลังจะออกแบบห้องครัวมาให้รู้กัน

HUMAN SCALE ห้องครัว สัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ

สามเหลี่ยมการใช้งาน

พื้นที่สัญจรในครัวเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนออกแบบครัวควรจำรูปสามเหลี่ยมการใช้งานให้ขึ้นใจ จะช่วยให้ใช้งานครัวได้สะดวกขึ้น มุมของสามเหลี่ยมจะตรงกับตู้เย็น อ่างล้างจาน และเตา ทั้งสามสิ่งนี้แทนค่าการใช้งานของส่วนเก็บ ส่วนล้าง และส่วนปรุง ข้อดีของสามเหลี่ยมนี้ยังช่วยลดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากครัว จึงใช้พื้นที่ได้คุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ขนาดของพื้นที่และรูปแบบครัวก็ควรสอดคล้องกันด้วย เพื่อการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้น

สัดส่วนสามเหลี่ยม

สามเหลี่ยมการใช้งาน

เราสามารถจัดครัวได้กี่รูปแบบ

1. ครัวแนวตรง แถวเดียว เหมาะสำหรับครัวที่มีพื้นที่จำกัด และมีรูปร่างของห้องยาวและแคบ

2. ครัวแนวตรง 2 แถว คล้ายกับแบบแรก แต่เพิ่มตู้ด้านตรงข้ามเพื่อให้ได้ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

ครัวแนวตรง 2 แถว

ครัวแถวตรง

3. ครัวแบบตัวแอล (L) รูปแบบนี้จะสามารถเข้ากับพื้นที่บ้านโดยทั่วไปและใช้งานสะดวกที่สุด

ครัวแบบตัวแอล

ครัวแบบตัวแอล

4.ครัวแบบตัวยู (U) เหมาะสำหรับห้องครัวขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้งานในครัวที่หลากหลาย

ครัวแบบตัวยู (U)

ครัวแบบตัวยู (U)

5. ครัวแบบมีเกาะกลาง ส่วนเกาะกลางที่เพิ่มขึ้นมาสามารถใช้เป็นที่เตรียมอาหารหรือดัดแปลงเป็นโต๊ะรับประทานอาหารได้ เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ครัวกว้างๆ

ครัวแบบมีเกาะกลาง

ครัวแบบมีเกาะกลาง

กำหนดระยะ (ด้านหน้า ด้านข้าง)

   เมื่อกำหนดระยะและความสูงของอุปกรณ์ต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบระยะและความสูงต่างๆนั้นให้ถูกต้องอีกครั้ง ระยะและความสูงเหล่านี้สามารถแปรเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน ดังนั้นในการออกแบบจึงไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับมาตราฐานแต่เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดระยะและความสูงของอุปกรณ์ให้เหมาะกับผู้ใช้งานนั้น ก็ควรคำนึงถึงในเรื่องของสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอยว่ามีขนาดเหมาะสมและสวยงามเพียงใดหรือไม่ เพื่อความลงตัวในทุกสัดส่วน

     ระยะใช้สอยของพื้นที่ปรุงอาหาร ควรเว้นพื้นที่ว่างทั้งสองด้านของเตาไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร เพื่อใช้วางหม้อ กระทะ หรืออาหารที่เพิ่งปรุงเสร็จจากเตา ส่วนหัวเตาก็ควรมีขนาดประมาณ 75 -100 เซนติเมตร ประกอบด้วยหัวเตาขนาดต่างๆกัน

     ควรเว้นระยะของอ่างล้างจานข้างใดข้างหนึ่งอย่างน้อยประมาณ 75 เซนติเมตร เพื่อไว้วางของที่ล้างเสร็จแล้ว

     ตู้สูงและตู้เก็บของระยะความสูงจากเคาน์เตอร์ถึงตู้อยู่ที่ 40 – 50 เซนติเมตร อาจปรับได้ตามความสูงของผู้ใช้งาน ควรให้อยู่ในระยะพอดีกับมือจับตู้ ไม่ควรให้ผู้ใช้งานต้องเหยียดสุดแขนหรือเขย่างเพื่อหยิบของ

สัดส่วนเตาปรุงอาหาร

สัดส่วนเตาปรุงอาหาร

สัดส่วนอ่างล้างจาน

สัดส่วนอ่างล้างมือ

สัดส่วนชั้นวางของ ชั้นสูง

สัดส่วนชั้นวางของ ชั้นสูง

เคาน์เตอร์

    ความสูงเคาน์เตอร์ระยะมาตาฐานอยู่ที่ 85 – 110 เซนติเมตร แต่อาจปรับระยะให้เข้ากับความสูงของผู้ใช้งานได้ เช่น เมื่อยกศอกในระดับใช้งานบนเคาน์เตอร์แล้วต้องอยู่ในระยะที่ไม่ต่ำหรือสูงเกินไป จะได้ไม่ปวดหลังหากต้องทำครัวนานๆ ส่วนความลึกของเคาน์เตอร์ระยะมาตราฐานอยู่ที่ 60 เซนติเมตร แต่อาจปรับให้พิดีตามความถนัดในการยืนของผู้ใช้งานได้

ความสูงเคาน์เตอร์

ความสูงเคาน์เตอร์

เคาน์เตอร์รับประทานอาหาร

การทำเคาน์เตอร์รับประทานอาหารระยะความสูงมาตราฐานอยู่ที่ 75 -112 ซม แต่อาจปรับให้เข้ากับระยะของผู้ใช้งานก็ได้

โต๊ะรับประทานอาหาร

ความสูงโต๊ะรับประทานอาหาร

โต๊ะรับประทานอาหาร

     โต๊ะรับประทานอาหารมีหลายแบบทั้งแบบ 2 ที่นั่งจนไปถึง 8 ที่นั่ง โดยระยะความสูงมาตราฐานเ เก้าอี้จากระดับพื้นถึงที่นั่งจะอยู่ที่ 70 เซนติเมตร และจากระดับที่นั่งถึงโต๊ะอยู่ที่ 30 เซนติเมตร ส่วนโต๊ะจากระดับพื้นถึงพื้นที่บนโต๊ะอยู่ที่ 100-110 เซนติเมตร