ออกแบบบ้านป้องกันฝุ่น PM2.5

ออกแบบบ้านป้องกันฝุ่น PM2.5

สร้างบ้านป้องกันฝุ่น PM2.5

        ปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังคงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อการใช้ชีวิตต้องออกไปทำงานนอกบ้านเจอฝุ่นทั้งวันแล้ว เมื่อกลับมาพักผ่อนที่บ้าน แต่บ้านยังเต็มไปด้วยฝุ่น PM 2.5 อีก คงไม่ใช่เรื่องดีต้องสุขภาพแน่นอน ดังนั้นการป้องกันฝุ่นจากอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วการออกแบบบ้านจึงต้องคำนึงถึงการออกแบบที่ป้องกันฝุ่น PM2.5 ด้วยและสามารถทำได้

ผศ.ดร.อันธิกา-สวัสดิ์ศรี

ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี

ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ประธานสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้แนะนำแนวทางการรับมือกับภัยฝุ่นในเมืองใหญ่ด้วยหลักการออกแบบสำหรับผู้ที่คิดจะสร้างบ้านใหม่ในเมืองว่า

“แนวคิดการออกแบบบ้านในเขตเมืองเพื่อรับมือปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการเมืองสมัยใหม่ หรือ Urban Management เนื่องจากบ้านเป็นหน่วยที่พักอาศัยที่ใกล้ชิดกับการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด ซึ่งเรามี 5 เทรนด์ออกแบบบ้านสู้ฝุ่นที่นำแนวทางการออกแบบเชิงภูมิสถาปัตยกรรมภายนอกตัวบ้านและการตกแต่งภายในบ้านมาแชร์กันค่ะ”

  1. ลดช่องลมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านเนื่องจากฝุ่นละอองจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศเย็นปะทะกับอากาศอุ่น ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะที่สภาพอากาศปิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ที่ลมหนาวจะพัดฝุ่นเข้าบ้านจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น บ้านที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองหนาแน่นจึงควรลดช่องลมหรือเบี่ยงทิศตัวบ้านให้ออกจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองภายนอกพัดเข้าสู่ตัวบ้าน
  2. เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในบ้านการออกแบบงานภูมิทัศน์ หรือการจัดสวนไม้ประดับ ควรเลือกต้นไม้ที่มีลักษณะใบคล้ายใบสน มีใบเล็กแหลมและแน่น โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีฝุ่นเป็นจำนวนมาก หากมีพื้นที่บริเวณบ้านควรปลูกหญ้าคลุมพื้นดินแทนการเทปูน และสามารถนำต้นไม้มาประดับตกแต่งผนังแทนการใช้กระเบื้อง การออกแบบงานภูมิทัศน์ นอกจากช่วยในการดักจับฝุ่นแล้ว ยังช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศมากขึ้น
  3. เลี่ยงวัสดุที่จับฝุ่นง่ายการเลือกใช้วัสดุตกแต่งบ้านและการออกแบบบางประเภทอาจทำให้เกิดฝุ่น เช่น การใช้เหล็กดัดลวดลาย การออกแบบผนังด้วยการเรียงอิฐไม่ฉาบปูน หรือการใช้อิฐโชว์แนว การออกแบบผนังหรือพื้นเป็นปูนพลาสเตอร์ปั้น และหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดฝุ่น เช่น ผ้าม่าน ผ้าขนสัตว์ ผ้ากำมะหยี่ พรม เป็นต้น
  4. ติดตั้งเครื่องกรองและแผ่นกรองอากาศการติดตั้งเครื่องกรองอากาศเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณฝุ่นภายในบ้านได้ แต่จำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องกรองและแผ่นกรองเป็นประจำ เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นและเชื้อโรค และหากมีการใช้พรมเช็ดเท้าและพรมปูในบ้าน ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองภายในบ้าน
  5. เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ให้พอดีกับฝ้าเพดานเนื่องจากพื้นที่ว่างบริเวณหลังตู้และเพดาน เป็นจุดอับที่ยากต่อการทำความสะอาด และเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ดังนั้น จึงควรเลือกขนาดเฟอร์นิเจอร์ที่มีความสูงให้พอดีหรือติดกับฝ้าเพดาน หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้ผ้าคลุมโต๊ะ ตู้ และวางของบนโต๊ะให้น้อยที่สุด

      หลังจากงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยควรทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบให้เรียบร้อย รวมถึงล้างท่อระบายน้ำ โดยห้ามไม่ให้เหลือสิ่งสกปรกบนบริเวรรอบตัวบ้าน อีกทั้งควรทำการซ่อมแซมพื้นผิวถนน ซ่อมทางเดินและเชื่อมต่อท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย

ถ้าไม่อยากให้ฝุ่นละออง หรือฝุ่นที่มีขนาดเล็กจิ๋ว เล็ดลอดเข้ามาภายในบ้าน แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

  1. ปิดประตู-หน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองพัดเข้ามาในบ้นาน ทั้งนี้ทั้งนั้น แนะนำให้ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อให้อากาศถ่ายทสะดวก ไม่เกิดปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว
  2. ปลูกต้นไม้ในบ้านเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่น ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ อาทิ ต้นจั๋ง ตันเดหลี ต้นเศรษฐีเรือนใน หรือต้นเข็มสามสี
  3. แนะนำให้ซื้อพรมดักฝุ่นมาวางไว้บริเวณประตูทางเข้าบบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝุ่นละออง ที่ก่อให้เกิดเชื้อโรค
  4. หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ การจุดเทียน จุดธูป สูบบุหรี่ หรือการเลื่อยไม้
  5. ซื้อเครื่องฟอกอากาศสำหรับในบ้าน โดยมีส่วนช่วยกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋ว ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  6. ทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ ก็ถือเป็นการช่วยลดฝุ่นภายในบ้านได้เช่นกัน

ที่มา : งานเสวนาพิเศษ หัวข้อ “ฝุ่น PM 2.5 จะผ่านไป แล้วไงต่อ?” จัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมแห่งประเทศไทย

อ้างอิง : www.salika.co